เพ่ๆ ยาแก้อักเสบแผงดิ เอาที่เป็นแคปซูล เขียว ฟ้า อะเพ่ ประโยคนี้มักเป็นประโยคคุ้นหู สำหรับเภสัชกรหรือคนที่ทำงานร้านขายยา และพอเมื่อได้ยินก็จะเกิดต่อมเซงทำงานทันที และหลายๆครั้งพอเภสัชกรไม่ขายยาให้ ก็พยายามไปหาซื้อยาตาม website ตาม ร้านขายยาออนไลน์ กันอีก
เพราะเจ้ายาที่ว่านี้เขารณรงค์หรือป่าวประกาศโครมๆกันมานานแล้วว่า ยาพวกนี้เขาเรียกว่ายาฆ่าเชื้อ ไม่ใช่ยาแก้อักเสบ เพราะ ยาแก้อักเสบตัวจริง ในทางการแพทย์ มันก็คือยาที่เราทานเวลาปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดฟัน หรือ อีกจำพวกหนึ่งคือ ยาแก้อักเสบปลายประสาทอย่าง กาบาเพนติน (Gabapentin) ต่างหาก
สารบัญ (ยาวไปเลือกอ่านคลิกหัวข้อ)
1.ยาฆ่าเชื้อต่างจากยาแก้อักเสบอย่างไร
2.เวลาเราเจ็บคอเราต้องกินยาฆ่าเชื้อเม็ดเขียว – ฟ้า ทุกครั้งหรือป้าว
3.แล้วยาฆ่าเชื้อเราจะกินเมื่อไหร่
4.ถ้าเราทานยาฆ่าเชื้อพร่ำเพรื่อ หรือทานแบบไม่ระมัดระวังจะเกิดอะไรขึ้น
ยาฆ่าเชื้อ ต่างจาก ยาแก้อักเสบยังไง
ชื่อก็น่าจะพอบอกได้คราวๆแล้วว่า แตกต่างกัน โดย ยาฆ่าเชื้อก็คือ ทานเพื่อฆ่าเชื้อโรค สำหรับโรคที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว ย้ำว่าติดเชื้อแล้วนะ คือ เราจะไม่กินยาฆ่าเชื้อเพื่อเป็นการดัก หรือ ป้องกันก่อนการติดเชื้อ แต่เราจะกินเมื่อเกิดการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น แล้วยาแก้อักเสบหล่ะ
ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านการอักเสบ ทางการแพทย์เรามักจะหมายถึงยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวด ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เช่น ปวดประจำเดือน ปวดฟัน กล้ามเนื้อ โดยเราจะเรียกชื่อยาเหล่านี้ว่าเป็นยา NSAIDs (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs) ซึ่งยากลุ่มนี้ ไม่ได้ฆ่าเชื้ออะไรเลย
เวลาเจ็บคอ เราต้องกินยาฆ่าเชื้อ เม็ด เขียว – ฟ้า ทุกครั้งหรือป้าว
เมื่อไหร่ที่เราเจ็บคอ มันไม่ได้เท่ากับว่าเราเกิดการติดเชื้อ เพราะการเจ็บคอนั้นเกิดได้หลายสาเหตุมาก เช่น อาการคอแห้ง การตะโกนหรือใช้เสียงมากเกินไป การเจ็บคอจากการไอที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ เจ็บคอจากโรคหวัด(เกิดจากเชื้อไวรัส ที่ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียฆ่าไม่ได้)
โดยสาเหตุที่เราเจ็บคอต่างๆเหล่านี้จะเห็นได้ว่าไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเลย และอาการเจ็บคอเหล่านี้ก็สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องพึ่งยาฆ่าเชื้อ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราทานยาฆ่าเชื้อแล้วหาย อาจจะหายโดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับยากลุ่มนี้เลย แต่เราเรียกว่า เหตุการณ์ประจวบเหมาะ ทำให้เราเข้าใจผิดว่าอาการที่เป็นนั้นหายจากการใช้ยานี้
ถ้าเราทานยาฆ่าเชื้อเป็นพร่ำเพรื่อ หรือ ทานแบบไม่ระมัดระวังจะเกิดอะไรขึ้น
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ายาฆ่าเชื้อ เม็ดเขียว ฟ้า ที่เรากินหากให้คนที่แพ้ยา penicillin ทาน ก็อาจทำให้เกิดการแพ้ได้ และหากคนรับประทานมีอาการแพ้ที่ไวต่อยามาก ก็อาจทำให้เกิดการแพ้รุนแรงภายในไม่กี่นาทีอาจถึงขั้นหายใจไม่ทันจนทำให้เสียชีวิตได้ เราเรียกอาการแพ้ขั้นรุนแรงนี้ว่า Anaphylaxis
โดยการแพ้นี้เกิดได้ทั้งจากยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ) และ ยาแก้อักเสบ (แก้ปวดอักเสบ) เพราะฉะนั้นเราไม่ควรแบ่งยาเหล่านี้ให้คนอื่นๆ ซึ่งเราไม่รู้แน่ชัดว่าเขาอาจจะแพ้ยาต่างๆเหล่านี้หรือมั้ยเพราะแทนที่เราจะให้ยาเพื่อให้คนที่เรารักหายป่วย การเป็นหยิบยื่นยาพิษให้เขาแทน
กลับสู่สารบัญแล้วยาฆ่าเชื้อแคปซูลสีเขียว ฟ้า เราจะกินเมื่อไหร่
เราจะทานยานี้ต่อเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้วเท่านั้นและต้องเป็นเชื้อแบคทีเรียด้วยน่ะ เชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้ออย่างอื่นมันก็ฆ่าไม่ได้คำถามตามมาคือเมื่อไหร่เราถึงรู้ว่าเราติดเชื้อแบคทีเรีย สิ่งที่เราสังเกตได้เองเลยก่อนที่บ้านคือ ถ้าหากเรามีไข้ขึ้นร่วม โดยเฉพาะไข้สูงจะบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่ามีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรีย
โดยอาการไข้นี้ก็อาจมาพร้อมอาการเจ็บคอ หากเป็นการติดเชื้อที่ลำคอ (Pharyngitis) หากเจ็บบริเวณด้านข้างลำคอและมีก้อนบวมๆร่วมก็อาจจะเกิดจากต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) หรือถ้าหากเป็นอาการไข้ ร่วมกับมีน้ำมูกเขียวเหลืองเยอะในโพรงจมูก ก็มีโอกาสติดเชื้อที่โพรงจมูก เรียก ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) จากอาการข้างต้นเราถึงค่อยหายาฆ่าเชื้อมาทานถึงจะเป็นการใช้ยาที่สมเหตุสมผลมากกว่า
สรุป
จากที่กล่าวไปข้างต้นเราจะเห็นแล้วว่ายาฆ่าเชื้อกับยาแก้อักเสบนั้นมันเป็นยาคนละแบบกันเลย เพราะฉะนั้นทุกครั้งเวลาที่เราหาซื้อยาถ้าเรายังเรียกผิด ก็มีโอกาสที่เราจะได้ยาผิดเช่นกัน และการใช้ยาทั้ง 2 ตัวนี้ก็มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ยาแก้อักเสบหรือยาใดๆก็ตามสามารถทำแคปซูลสีอะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้อง เขียว-ฟ้า ดำ-แดง ฟ้า-ขาว เสมอไป การใช้ยาที่พร่ำเพรื่อขาดความระมัดระวังและนำยาไปแจกจ่ายให้กับคนอื่นๆก็อาจนำมาซึ่งอันตรายถึงชีวิต เพราะฉะนั้นเวลาก่อนจะหยิบยากลุ่มเหล่านี้มาใช้ทุกครั้งควรถามตัวเองว่าเราจำเป็นต้องกินยานี้จริงๆแล้วหรือยัง หรือถ้าให้แน่ใจควรถือยาไปสอบถามเภสัชกรที่ร้านขายยาใกล้บ้านทานหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ทานรู้จักก่อนนำมาทานแบบพร่ำเพรื่อเวลามีอาการ แล้วมาพบกับบทความดีๆใหม่ในบทความถัดๆไป บะบาย
ทำการลงทะเบียนเพื่อที่เราจะต้องทำการตรวจสอบเลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ และ ใบอนุญาตขายยา ว่าเป็นการซื้อยาของผู้รับอนุญาต ที่มีร้านขายยาถูกต้องตามกฏหมาย