Arava 20 mg คือยา อะไรหว่า ซื้อกินเองอันตรายมั้ย

arava

รูมาตอยด์ถามหา ต้องรู้จัก ยา Arava 20 mg ที่มีตัวยาสำคัญชื่อว่า Leflunomide โดยยานี้เป็นยาสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาข้อต่างๆที่ไม่ได้เกิดจากการเสื่อมของข้อตามร่างกาย หรือ อายุ แต่ปัญหาข้อที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่เรียกว่าโรค “รูมาตอยด์”
โดยเราจะเรียกยากลุ่มนี้ว่า disease-modifying antirheumatic drugs (DMARDs) ซึ่งยาตัวนี้จะช่วยลดการอักเสบและลดการถูกทำลายของข้อ ใช้สำหรับผู้ป่วยรูมาตอยด์ ระดับปานกลาง – รุนแรง

ยา Arava ออกฤทธิ์ยังไง ทำไมถึงคุมอาการของโรครูมาตอยด์ได้

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโรครูมาตอยด์นั้นเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราเองนั้นไปทำลายตามข้อต่างๆของร่างกาย โดยภาษาทางการแพทย์เขาเรียกว่า โรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง (Autoimmune disease) ชนิดหนึ่ง หรือ ถ้าพูดให้เป็นภาษาบ้านๆให้เข้าใจก็คือ โรคน้ำเหลืองเสียทำลายข้อ (อันนี้แอดแต่งคำเองนะ) 55

จึงทำให้โรคนี้แตกต่างจากโรคปวดข้ออื่นๆ ที่มักเกิดจากการเสื่อมตามอายุ หรือ เกิดจากการใช้งานหนัก จึงทำให้การรักษาโรคนี้จึงแตกต่างจากโรคข้อเสื่อมทั่วๆไป และยาที่ใช้ก็แตกต่างกันไปด้วย ซึ่งยาที่เรานำมาใช้ก็จะไปออกฤทิ์ที่ระบบภูมิคุ้มกัน มากกว่าโดยเราเรียกยาที่ใช้สำหรับควบคุมอาการของโรคกลุ่มนี้ว่า ยาปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย เรียกว่า Immunomodulator medicine แล้วยานี้มีกลไกการออกฤทธ์ยังไง ไปดูต่อกันเลย

กลไกการออกฤทธิ์ (Machanism of action)

การจะอธิบายค่อนข้างจะซับซ้อนแต่พี่เภขอลงรายละเอียดไม่มาก โดยตัว leflunomide จะเข้าไปยับยั้ง เอนไซน์ dihydroorotate dehydrogenase (DHODH) โดยเจ้าเอนไซม์ตัวนี้ มันจะมีบทบาทในกระบวน de novo synthesis ซึ่งเป็นการแบ่งตัวของเลล์ต่างๆ ที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดความผิดปกติภูมิคุ้มกันในร่างกายเช่น พวกเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte ที่กระตุ้นการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบและไปทำลายข้อต่อไป

นอกจากนี้เจ้ายา leflunomide ยังไปถูกเปลี่ยนสภาพ (metabolite) ที่ตับ ประมาณ 70% กลายเป็น teriflunomide โดยเจ้าตัวนี้ก็จะไปช่วยออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Tyrosine kinase โดยเอนไซน์ตัวนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของ Lymphocyte และสารก่อการอักเสบอื่น ๆ รวมถึงการอักเสบที่เกิดขึ้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเซลล์ Lymphocyte ด้วย รวมถึงการต่อต้านเชื้อไวรัสต่างๆ เช่น Cytomegalovirus (CMV) , HSV1 และ BK Virus ที่เป็นอีกสาเหตุในการเกิดโรครูมาตอยด์ได้เช่นกัน (อ่านจบแล้วงงมั้ยหละ)

ถ้าเข้าใจง่ายกว่านี้ คือ leflunomide จะไปยับยั้งที่เซลล์ช่วงต้นๆของการเกิด และ teriflunomide จะไปออกฤทธิ์ยับยั้งช่วงปลายเหตุของการเกิดโรค

การรับประทานยา

  • ขนาดรับประทานปกติ จะเริ่มที่ 20 มก ต่อวัน แต่สำหรับผู้ที่ไวต่อผลข้างเคียง อาจลดเหลือ 10 มก ต่อวัน
  •  Loading dose สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจเริ่มให้รับประทาน 5 เม็ด (100 มก) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดกัน 3 สัปดาห์ หรือ 5 เม็ด (100 มก) ต่อวัน ติดกัน 3 วัน
  • หลังจากรับประทานยา อาจต้องใช้เวลา 6-12 สัปดาห์ อาการปวด หรือ บวมของข้อ ถึงค่อยๆลดลงได้สมบูรณ์
กลับสู่สารบัญ

ผลข้างเคียงจากยา (SIDE EFFECT)

  • ท้องเสีย พบได้บ่อยถึง 20% โดยเฉพาะช่วง loading dose
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย
  • ผื่นขึ้น น้อยกว่า 10%
  • ผมร่วง

ข้อห้ามใช้

  • ห้ามใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์
  • ไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ทันที หลังจากหยุดยานี้ ควรทิ้งระยะของการตั้งครรภ์หลังจากหยุดยาแล้วประมาณ 2 ปี เนื่องจากยานี้ยังคงอยู่ในร่างกายหลังหยุดแล้ว
  • ห้ามทานยานี้ระหว่างที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ห้ามรับประทานในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือ แพ้ส่วนประกอบใดๆในยา

ข้อควรระวังการใช้ Arava

  •  ไม่ควรปรับขนาดยา หรือหยุดยาเอง ควรรับประทานตามแพทย์สั่งเท่านั้น
  • ไม่แนะนำในผู้ที่เป็นโรคตับ การทำงานของตับผิดปกต
  • ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะไขกระดูกบกพร่อง เนื่องจากยาจะทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำลง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ ผิวซิด และ ทำให้เลือดไหลออกง่าย
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคปอด เนื่องจากยานี้กระตุ้นให้เกิดพังพืดที่ปอดได้
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในเด็ก เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ

ปฏิกิริยาระหว่างยา (DRUG INTERACTION)

  • ไม่ควรทานยา Arava พร้อม ยา Cholestyramine เนื่องจากยานี้จะลดการดูดซึมของยา โดยยาอราวาจะถูกขับออกตับผ่านท่อน้ำดี
  • ยา Rifampicin (ยาฆ่าเชื้อวัณโรค) ไม่ลดระดับยาอราวา โดยไปเพิ่มเอนไซน์ที่ตับในการทำลายยานี้ จึงไม่แนะนำให้ทานร่วมกัน
  • หากต้องมีการฉีดวัคซีนเชื้อเป็น (Live vaccine) เช่น วัคซีนหัดเยอรมัน คางทูม MMR , วัคซีน อีสุกอีใส , โปลิโอ ควรฉีดวัคซีน ก่อนที่จะใช้ยานี้ซัก 1-2 สัปดาห์
  • ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดวาร์ฟาริน (Warfarin) เนื่องจาก จะไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกตามร่างกายได้ง่าย
  • ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับ Methotrexate หรือยากดภูมิตัวอื่นๆ เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการกดการทำงานของไขกระดูกที่มากเกินไป
กลับสู่สารบัญ

สรุป

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ายา Arava 20 mg ตัวนี้จะมีข้อห้ามใช้และข้อควรระวังหลายอย่าง โดยยาจะเข้าไปเกี่ยงข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น พวกเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ไขกระดูก และมีผลกระทบกับยาอื่นๆ อีกหลายตัว ดังนั้น การจะทานยานี้ต้องได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ และจ่ายยามาก่อน ไม่ควรหาซื้อยานี้กินเอง ทั้งๆทียังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย หากทานคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์กับคนใกล้ตัว พี่เภ ก็ขอฝากแชร์บทความนี้ ที่ปุ่มด้านล่างให้พี่เภที่นะครับ แล้วพบกับบทความดีๆ เกี่ยวกับยาในตอนต่อๆไปได้ที่นี้เลย