มันแน่นอก แต่ยกไม่ออก เพราะงานนี้ สาวกิบซี๊กับใบเตย ก็ช่วยไม่ได้ จะมีตัวช่วยยามคับขันนี้ เมื่อมีอาการแสบร้อนกลางอก เนื่องจากกรดไหลย้อนก็จะมีแต่ กาวิสคอน ที่พอจะเป็นพระเอกช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกนี้ได้ชั่วคราว แต่ทางที่ดีกว่าคือการป้องกันเพื่อไม่ให้กรดไหลย้อนเกิดโดยอาหารเป็น 1 ปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรคนี้แล้วเราจะเลือกทานอาหารอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดและหลีกเลี่ยงอาหารอะไร
สารบัญเนื้อหา (กดเลือกอ่านตามหัวข้อได้เลย)
- กรดไหลย้อนคืออะไร
- สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
- อาการทีพบบ่อย
- อาการข้างเคียงอื่นๆทีเกิดจากกรดไหลย้อน
- การรักษา
- อาหารที่กระตุ้นกรดไหลย้อน
- อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด
- อาหารที่มีไชมันสูง
- อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน
- ผลไม้รสเปรี้ยวต่างๆ
- เครื่องดื่ม
- ขนม
- อาหารที่ช่วยป้องกันกรดไหลย้อน
- อาหารที่มีไฟเบอร์สูง
- อาหารที่มีความเป็นด่าง
- อาหารไขมันต่ำ
- อาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง
- เครื่องดื่มที่แนะนำ
- สรุป
- แหล่งที่มาของข้อมูล (Reference)
กรดไหลย้อนคืออะไร
โรคกรดไหลย้อน จัดเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดจาก กรดที่อยู่ในกระเพาะ ไหลย้อนกลับมาที่บริเวณหลอดอาหาร หรือ บริเวณคอหอย จนทำให้เรามีอาการแสบ จุก บริเวณลิ้นปี่ หรือ แสบคอได้ โดยโรคนี้อาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะก็ได้
หมายความว่า คนที่เป็นกรดไหลย้อน อาจจะไม่ได้เป็นโรคกระเพาะ ส่วนคนที่เป็นโรคกระเพาะก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นโรคกรดไหลย้อนเสมอไป แล้วสาเหตุของโรคนี้คืออะไร แต่โดยการรักษาก็จะใช้การปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และยาส่วนใหญ่จะเหมือนกับยารักษาโรคกระเพาะที่ใช้รักษาก็จะเป็นยากลุ่ม PPI (Proton pump inhibitor) หรือ ยาใหม่กลุ่ม PCAB ได้แก่ยา Vocinti
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
- ความผิดปกติของการบีบตัว ของกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ที่มักเกิดจาการทานอาหารมีมากเกินไป หรือ กรดหลั่งในกระเพาะมากเกินไปแล้วเกิดการดันกรดจากกระเพาะขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร
- หูรูดส่วนปลายหลอดอาหารเกิดการปิดที่ไม่สนิทหรือเกิดการหลวม หูรูดส่วนปลายหลอดอาหารจะเป็นหูรูดที่ต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร หากหูรูดบริเวณนี้หลวม ก็จะทำให้กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาที่บริเวณหลอดอาหารได้ง่าย โดยสาเหตุมักเกิดจากการทานอาหาร เช่น ของมัน ของทอด ชา กาแฟ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การทานยาบางชนิด (ยาขยายหลอดลม) ซึ่งเราจะพูดเกี่ยวกับอาหารในหัวข้อถัดไป
- โรคอ้วน เพราะคนอ้วน จะมีไขมันสะสมในช่องท้อง และสะสมในตับมากกว่าคนที่น้ำหนักน้อย เลยทำให้ตับเบียดกระเพาะอาหารมากขึ้ ทำให้ความดันในช่องท้อง (ที่อยู่ของอวัยวะต่างๆในระบบทางเดินอาหาร) เพิ่มมากขึ้น กระเพาะก็จะอยู่ผิดรูป หรือถูกเบียดจากตับที่ขนาดใหญ่จากไขมันสะสม ทำให้หูรูดของกระเพาะอาหารหย่อนและหลวมได้ง่าย
- หญิงตั้งครรภ์ จะมีฮอร์โมน Progesterone ที่สูงขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณหูรูดบริเวณกระเพาะอาหารเกิดการคลายตัว รวมถึงในช่วงไตรมาส 2 หรือ 3 ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น ทำให้มดลูกไปเบียดหรือกดทับกระเพาะอาหาร ดันให้อาหารหรือกรดในระบบทางเดินอาหารไหลย้อนหลับไปยังหลอดอาหาร
อาการทีพบบ่อย
- มีอาการแสบๆจุกๆบริเวณลิ้นปี่ และ สามารถแสบขึ้นมากลางอก แน่นที่หน้าอกได้ มักเกิดหลังทานอาหารเสร็จ
- แสบบริเวณคอ เรอรสเปรี้ยว หรือรู้สึกเรอเป็นน้ำย่อยขึ้นมาขมคอ ซึ่งเป็นน้ำย่อยและกรดที่มาจากกระเพาะอาหาร โดยส่วนใหญ่มักจะพบเวลาเช้าๆ หลังตื่นนอน
- รู้สึกเหมือนมีเศษอาหารกระเดนขึ้นมาที่ปากที่คอ
อาการข้างเคียงอื่นๆทีเกิดจากกรดไหลย้อน
- มีกลิ่นปาก ฟันในช่องปากกร่อน
- มีอาการไอเรื่อรัง ลักษณะไอแห้งๆ แต่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ เกิดจากกรดทำให้แสบคอ
- รู้สึกเหมือนมีก้อนมาจุดๆที่คอ เกิดจากกรดที่มากัดคอหอย
- รู้สึกหายใจไม่ทัน เหมือนเป็นหอบ แต่ทานยาหอบแล้วไม่ดีขึ้น โดยเกิดกรดที่ย้อนกลับขึ้นมาหลุดออกจากหลอดอาหารมากัดหลอดลม หากปล่อยไว้หลอดลดจะโดนกัดจนส่งผลต่อทางเดินหายใจได้
- เจ็บหน้าอก เหมือนเป็นโรคหัวใจ แต่เมื่อตรวจแล้วหัวใจกลับเป็นปกติ
- มีการอักเสบที่หลอดอาหาร อาจรุกลามไปเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
การรักษา
- ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร อย่าทานอาหารดึกเกินไป หรือ หลังทานอาหารแล้วควรทิ่งช่วง 2 ชั่วโมงก่อนไปนอน โดยหลีกเลี่ยงอาหารต่างๆที่แนะนำในหัวข้อถัดไป
- การใช้ยาลดการหลั่งกรด เช่น ยากลุ่ม PPI หรือ ยารักษาโรคกระเพาะ Vocinti ซึ่งเป็นยาใหม่ในกลุ่ม PCAP
- ทานยาบรรเทาอาการเวลามีอาการแสบ เช่น ยาบรรเทาอาการกรดไหลย้อนกาวิสคอน Gaviscon
อาหารที่กระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน
โดยอาหารในกลุ่มนี้มักจะไปกระตุ้นการหลั่งกรดให้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความเป็นกรดของตัวอาหารเองก็ทำให้รู้สึกแสบได้หากคนนั้นมีการเกิดแผลที่หลอดอาหารแล้ว นอกจากนี้อาหารบางอย่างยังไปทำให้หูรูดระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารเกิดการคลายตัวได้ด้วย โดยอาหารที่กระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนมีดังนี้
อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด
- อาหารทีมีส่วนผสมของมะนาว เช่น หมูมะนาว ปลาหมึกนึงมะนาว หรือเมนูอื่นๆที่มีมะนาวประกอบ
- อาหารที่มีน้ำส้มสายชู เช่น ผักดองต่างๆ หรือ น้ำสลัดต่างๆ
- ผลไม้ดอง
อาหารที่มีไขมันสูง
- อาหารที่มีเนยเป็นส่วนประกอบ เช่น พิซซ่า ชีส อาหารสไตล์อิตาเลียนต่างๆ
- เนื้อสัตว์ติดมัน ต่างๆ เช่น เบคอน แฮม หมูสามชั้น เนื่อติดมันต่างๆ
- ของทอดน้ำมันต่างๆ เช่น กล้วยทอด ไก่ทอด หมูทอดเป็นต้น
อาหารทีมีรสเผ็ดร้อน
- อาหารที่มีกระเทียม เช่น หมูทอดกระเทียม ปลาทอดกระเทียม
- อาหารที่มีพริกเป็นส่วนประกอบ เช่น ส้มตำ หมาล่า
- อาหารที่ใส่หัวหอมด่างๆ
ผลไม้รสเปรี้ยวต่างๆ
- มะนาว
- มะยม
- ส้มจี๊ด
- มะม่วงเปรี้ยว
- สัปปะรด
- มะเขือเทศ
เครื่องดื่ม
- กาแฟ
- ชาต่าง เช่น ชาดำเย็น ชานม ชานมไข่มุกด้วยน่ะ
- ช็อคโกแลต
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่างๆ เช่น เบียร์ ไวน์
- น้ำผลไม้ ที่มีรสเปรี้ยวหรือเป็นกรดต่างๆ ดังตัวอย่างที่กล่าวมา
- น้ำอัดลมต่างๆ ก็ควรเลี่ยง
ขนม
- ขนมทอดกรอบต่าง ๆ เช่น มันฝรั่งทอด ข้าวเกรียบทอด
- ช๊อคโกแลต
- ลูกอม หมากฝรั่งที่มี mint เป็นส่วนประกอบ
อาหารที่ช่วยป้องกันกรดไหลย้อน
อาหารในกลุ่มนี้มักเป็นอาหารที่ช่วยให้อาการไม่ค่อยกำเริบ ช่วยกดไม่ให้กรดไหลกลับมาที่หลอดอาหารได้ง่ายๆ และช่วยทำให้หูรูดส่วนปลายระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเน้นขึ้น และไปเจือจางความเป็นกรดในกระเพาะ มีอาหารอะไรบ้างไปดูกัน
จากข้างต้น คนเป็นกรดไหลย้อนแถบจะถอดใจเลยว่า ยอมเป็นต่อไปก็ได้ ถ้าจะห้ามกินซะขนาดนี้ 555 แต่จริงๆก็พอกินได้บ้าง หลักสำคัญคือกินแต่พอดีหรือกินให้น้อยที่สุด และ ควรสังเกตว่าหากกินอาหารอะไรแล้วมักมีอาการกรดไหลย้อนก็ควรจะหลีกเลี่ยง ไม่เพียงเฉพาะอาหารที่กล่าวไว้แล้วเท่านั้น แล้วคนเป็นกรดไหลย้อนสามารถทานอะไรได้บ้าง ที่จะช่วยป้องกันกรดไหลย้อน
อาหารที่มีไฟเบอร์สูง
- อาหารจำพวกธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอีต
- ผัก ผลไม้ ที่เป็นหัว เช่น แครอท มัน เผือก แต่ต้องไม่นำไปทอดน้ำมันนะ
- ผักใบเขียวต่างๆ เช่น คะน้า บลีอคโครี่
อาหารที่มีความเป็นด่าง
- กล้วย
- เมลอน
- ผักกระหล่ำต่างๆ
- ถั่วต่างๆ
- อโวคาโด่
อาหารไขมันต่ำ
- ไข่ขาว
- เนื้อปลา
- เนื้อบดต่างๆ
อาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง
- ผักชีฝรั่ง
- แตงกวา
- ผักกาดหอม
- แตงโม แคนตาลูป
- ซุปต่างๆที่ไม่มัน
เครื่องดื่มที่แนะนำ
- นมสด
- น้ำขิง
- น้ำแอปเปิ้ล
- น้ำมะนาวอ่อนๆ
- ชาสมุนไพร
สรุป
จากข้อมูลที่กล่าวมาจะเห็นโรคกรดไหลย้อนจริงแล้วสามารถรักษาให้หายได้หลากหลายวิธีตั้งแต่การใช้ยา แต่วิธีไหนคงไม่ดีเท่ากับการปรับพฤติกรรมที่จะเห็นผลดีในระยะยาว รวมถึงการเลือกรับประทานอาหารจะเห็นได้ว่าอาหารมากมายหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนได้ และไม่ได้มีเพียงแต่อาหารเท่านั้นที่ไปกระตุ้น แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องอีกเช่น พฤติกรรม ยาต่างๆ อายุ พันธุกรรม และสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย ไว้จะเอามาเล่าให้ฟังต่อในบทความถัดๆไป
แหล่งที่มาของข้อมูล
- ที่มาของโรค สาเหตุ วิธีการรักษา https://www.webmd.com/heartburn-gerd/guide/reflux-disease-gerd-1
- กรดไหลย้อนกับฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์ https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14756022/
- อาหารที่ควรทานและหลีกเลี่ยงสำหรับกรดไหลย้อน https://www.healthline.com/health/gerd/diet-nutrition#finding-triggers