ยา Parlodel 2.5 mg คือยาอะไร ใช้หยุดน้ำนมแม่ หรือ ยาจิตเวชกันแน่

parlodel

เมื่อคุณแม่หลังคลอดน้อง น้องก็กินนมมานานจนอย่านมแล้ว แต่น้ำนมยังคงไหลไม่หยุด จนก่อให้เกิดความรำคาญ ถ้าอยากน้ำนมหยุดต้องรู้จัก Parlodel โดยยาตัวนี้ถูกคิดค้นโดยบริษัท Sandoz ซึ่งอยู่ในเครือของบริษัท Norvatis ตัวพาร์ลอเดล คือ ชื่อการค้า แต่ตัวยาสำคัญของยานี้คือ Bromocriptine (โบรโมคลิปทิน) โดยเจ้ายาตัวนี้ในท้องตลาดก็มีหลากหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น Bromergon (ของ Sandoz) หรือ Suplac (ของ Biolab)

แต่คุณแม่มือใหม่ หลายๆคน ถึงกลับตกใจจนไม่กล้าทานยา หลังจากได้อ่านฉลากของยานี้เพราะว่าในฉลากกลับเขียนว่าใช้รักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson) กับ โรคแปลกๆอื่นๆ เช่น เนื่องอกของต่อมพิทูอิทารีเนื่องจากโปรแลคติน (Prolactinomas) หรือ โรคอะโครเมก้าลี่ (Acromegaly) แล้วตกลงเจ้ายาตัวนี้มันรักษาอะไรกันแน่

ทำไมยา Parlodel สามารถหยุดน้ำนมไหลได้ รักษาพาร์กินสัน รวมถึงโรคอื่นๆได้ด้วย

Parlodel คือ ยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยไปยับยั้งฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin inhibitor) และ ไปกระตุ้นการหลั่งของโดปามิน (Dopamine agonist) รวมถึงยับยั้งการหลั่งของ โกรธฮอร์โมน ที่บริเวณต่อมพิทูอิตาริส่วนหน้า (anterior pituitary) ที่อยู่บริเวณสมองส่วนไฮโปทาลามัส งงมั้ยละ แอดก็งง 555 เพราะในยา 1 ตัวมีกลไกการออกฤทธิ์กับร่างกายที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนในร่างกายถึง 3 ตัวเลยทีเดียว

งั้นจบบทความนี้เลยแล้วกัน ใจเย็น มันไม่ได้ยากขนาดนั้น แต่อย่าเพิ่งกังวลไปเดี่ยวแอดจะมาเล่าให้ฟังในบทความต่อๆไป ว่า Bromocriptine ที่เป็นตัวยาสำคัญของยานี้มั้นออกฤทธิ์ยังไงในบทความถัดไป เอาเป็นว่าให้เข้าใจว่ายานี้ไปออกฤทธิ์กับ ฮอร์โมน 3 ตัวนี้ เลยทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาคือสามารถรักษาโรคทั้ง 3 นี้ได้ เดี่ยวจะยิ่งงงกันไปใหญ่

บทบาทของ Parlodel กับ ฮอร์โมน Prolactin ที่มีผลต่อการหยุดไหลของน้ำนม

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าการที่เราน้ำนมไหล ไม่ได้เกิดจากอยู่นี้นมนึกจะไหลก็ไหล โดยธรรมชาติของผู้หญิงแล้วเราจะสังเกตได้ว่าถ้าหากเราอยู่ในสภาวะปกติ หรือแม้แต่กระทั้งตอนตั้งครรภ์ จะไม่เกิดการไหลของน้ำนมออกมาจากเต้า เพราะเราไม่ใช่แม่วัว เย้ย แต่พอเมื่อไหร่ที่เราคลอดลูกเท่านั้นแหละ ผ่านไปแค่ 1-3 วันแล้วแต่คน น้ำนมกับไหลมาไม่หยุดหย่อน นั้นเป็นเพราะการไหลของน้ำนมมันเกี่ยวข้องกับ ฮอร์โมนที่ชื่อว่า โปรแลคติด (Prolactin) จะถูกหลั่งออกมาจำนวนมากหลังคลอดและในระหว่างที่ลูกน้อยของเราดูดนมนั้นเอง

parlodel prolactin

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณแม่หลายๆคนคือ น้ำนมไม่ยอมหยุดไหล แม้ว่าจะหยุดให้นมลูกมาหลายเดือนแล้ว  โดยอาจเกิดจากฮอร์โมนโปรแลคตินที่หลั่งออกมามากกว่าปกติจากต่อมพิทูอิตารี เช่น การเกิดเนื้องอกบริเวณต่อมนี้ โดยทำให้ฮอร์โมนโปรแลคตินยังคงหลังออกมาเรื่อยๆ จึงเกิดมีการนำยานี้มาใช้ เพื่อยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนนี้ และทำให้น้ำนมหยุดไหลได้นั้นเอง

แล้วทำไม Parlodel ถึงสามารถใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสัน หรือ โรคอะโครเมกาลี (Acromegaly) ได้ ?

จริงๆแล้วยาพาร์ลอเดล ถูกคิดค้นมาเพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน และ อะโครเมกาลี ในก่อนหน้าที่จะนำมาใช้กับการหยุดไหลของน้ำนม

  • โรคพาร์กินสัน เกิดจากการที่ Dopamine ในเซลล์ประสาทที่น้อยเกินไป และ ทำให้เกิดความไม่สมดุลของ Dopamine และ Actylcholine ในสมอง จุดประสงค์ของการรักษาโรคนี้คือทำยังไงให้สารสื่อประสาท 2 ตัวนี้ทำงานสมดุลกันเหมือนตราชั่งที่ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง จึงเกิดการผลิตยาที่ไม่ไปเพิ่มการหลั่งของ Dopamine ก็จะเป็นยาที่ไปลดการหลั่งของ Actylcholine ลงเช่น ยา Trihexyphenidyl โดยการออกฤทธิ์ของ Parlodel นั้นคือการไปเพิ่มการหลั่งของโดปามีน โดยศัพท์ทางเภสัชวิทยาเรียกว่า Dopamine agonist ทำให้เพิ่มปริมาณของโดปามีนในผู้ป่วยพาร์กินสัน ให้ขึ้นไปอยู่ในระดับที่สมดุลกับ Actylcholine เพื่อลดอาการสั่น และ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยนั้นเอง
  • โรคอะโครเมกาลี นับเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โดยคนที่เป็นโรคนี้มีสัดส่วนการพบอยู่ 1 ใน 2500 คน โดยหลายๆคนก็อาจจะเป็นโรคนี้แบบไม่รู้ตัว เนื่องจากโรคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ โดยเกิดจากการเพิ่มของ โกรธฮอร์โมน ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่มากเกินไป โดยสามารถเกิดได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก แต่การเกิดในผู้ใหญ่ที่กระดูกต่างๆของร่างกายได้ปิดลงแล้วนั้นทำให้เกิดรูปร่างของอวัยวะต่างๆผิดรูปไป เช่น ใบหน้า ขากรรไกร จมูก นิ้วมือ นิ้วเท้า ที่ผิดรูปไปนั้นเอง โดยยาพาร์ลอเดลนั้นก็ไปออกฤทธิ์โดยไปยับยั้งการหลั่งของโกรธฮอร์โมนที่เกิดขึ้น จึงถูกนำยานี้มาใช้ในการรักษาโรคนี้เช่นกัน

ขนาดการใช้ยา

ปริมาณของการใช้ยานี้ก็ขึ้นอยู่กับวัยและโรคที่ใช้ในการรักษา

ผู้ใหญ่

  • พาร์กินสัน จะใช้อยู่ที่ 10-40 มกต่อวัน โดยจะค่อยๆเริ่มต้นการใช้ที่ 1.25 มก (ครึ่งเม็ด) และเพิ่มการใช้ 1.25 หรือ 2.5 ทุกๆสัปดาห์ โดยหากเกิดอาการไม่พึ่งประสงค์ระหว่างการใช้ให้ลดขนาดยาลง และคงระดับยาที่ทำให้ไม่เกิดอาการข้างเคียงไว้ 1 สัปดาห์
  • อะโครเมกาลี เริ่มต้นที่ขนาดยาครั้งละ 1.25 มก เช่นกัน ทาน วันละ 2-3 มื้อ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับ 10-20 มก ต่อวัน
  • โปรแลคตินในเลือดสูง เริ่มต้นที่ขนาดยา 1.25 มก เช่นกัน ทานวันละ 2-3 มื้อ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับ 5-10 มก ต่อวัน

เด็กอายุมากกว่า 7 ปี – 17 ปี

  • เนื่องอกที่ต่อมใต้สมองที่เกิดจากโปรแลคตินที่มากเกินไป เริ่มต้นที่ขนาดยาครั้งละ 1.25 มก เช่นกัน ทาน วันละ 2-3 มื้อ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับ 5 มก.ในเด็กอายุ 7-12 ปี และสามารถเพิ่มได้ถึง 20 มกต่อวัน ในเด็กอายุ ไม่เกิน 17 ปี
  • อะโครเมกาลี เริ่มต้นที่ขนาดยาครั้งละ 1.25 มก เช่นกัน ทาน วันละ 2-3 มื้อ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับ 10 มก ต่อวัน ในเด็ก อายุน้อยกว่า 12 และมาสุดถึงระดับ 20 มกต่อวัน ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 17

Parlodel จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยา ขย.1 ที่มีเภสัชกรประจำ เท่านั้น

ข้อห้ามใช้

  • ห้ามใช้ยานี้สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติแพ้ยาหรือส่วนประกอบต่างๆของยานี้ หรือผู้ที่แพ้ ergot alkaloid อื่นๆ
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่คุมไม่ได้ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ หรือ หลังคลอดแล้วความดันยังสูงอยู่
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว Coronary artery disease และภาวะต่างๆทางหลอดเลือดหัวใจที่รุนแรง

ข้อควรระวัง

  • การใช้ยาควรเริ่มที่ขนาดต่ำและเพิ่มขนาดยาให้พอควบคุมอาการต่างๆได้
  • คนที่ขับขึ่ยานพาหนะ หรือ เครื่องจักร เพราะยาอาจทำให้เกิดอาการง่วงได้
  • ผู้ที่เกิดเลือดออกหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
  • ผู้ที่เป็นโรคผังพืดที่ปอดหรือถุงหุ้มหัวใจ
  • คนที่มีกลุ่มอาการที่ควบคุมตนเองต่อสิ่งเร้าไม่ได้ (impulse control disorder)

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา (SIDE EFFECT)

  • ปวดศีรษะ ง่วงซึมระหว่างวัน มึนงง (พบบ่อย)
  • คัดจมูก (พบบ่อย)
  • คลื่นไส้ ท้องผูก อาเจียน (พบบ่อย)
  • เคลื่อนไหวลำบาก ชาตามอวัยวะ เห็นภาพเบลอ (พบน้อย)
  • ปากแห้ง ท้องเสีย ปวดท้อง (พบน้อย)
  • เหนื่อยเพลีย บวมตามร่างกาย (พบน้อย)

สรุปข้อมูลเกี่ยวกับยา Parodel

จากที่เราพูดถึงยาพาลอร์เดลไป จะเห็นได้ว่ายาหนึ่งตัวนั้นสามารถรักษาอาการหรือโรคต่างๆได้มากกว่า 1 อย่าง และสามารถส่งผลกับระบบร่างกายได้มากกว่า 1 ระบบ เช่นยานี้สามารถส่งผลกับระบบสมอง การทำงานของต่อมน้ำนม การทำงานของหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงฮอร์โมนถึง 3 ตัวในร่างกาย เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะใช้ยา หรือ หาซื้อยาใดๆมารับประทานควรสอบถามเภสัชกรหรือแพทย์ ประกอบกับการหาข้อมูล ก่อนที่จะนำยามาใช้ซึ่งอาจเกิดอันตรายแบบที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นเอง ถ้าบทความนี้มีประโยชน์ก็อย่าลืมกดปุ่มแชร์ไปให้เพื่อนๆกันด้วยหละ แล้วพบกันใหม่กับสาระดีๆเกี่ยวกับยาในบทความถัดๆไป บะบาย

แหล่งที่มาของข้อมูล (Reference)

1.Bromocriptine detail https://en.wikipedia.org/wiki/Bromocriptine

2.Galactoria https://bit.ly/3z3p3sC

3.Acromegaly https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acromegaly/symptoms-causes/syc-20351222

4.Parodel Data from novatis parodel medicine leaflet